ปวดหัวเข่า จาก ข้อเข่าเสื่อม เทคนิคการรับมือที่คุณต้องรู้

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เป็นโรคการเสื่อมสภาพของข้อต่อที่หัวเข่า ซึ่งเป็นหนึ่งในโรค ข้ออักเสบ (Arthritis) ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยมีอาการ ปวดเข่า นำมาอย่างชัดเจน  ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนที่ข้อต่อ ซึ่งตัวกระดูกอ่อนนี้ทำหน้าที่เหมือนยางที่เหนียวหนึบในการปกคลุมปลายกระดูกแข็งเอาไว้ เพื่อปกป้องและป้องกันการกระแทก ลดการเสียดสี ทำหน้าที่เหมือนโช๊คอัพรถยนต์ เมื่อกระดูกอ่อนถูกใช้งาน สึกกร่อน บางลง ทำหน้าที่ในการป้องกันการเสียดสีได้น้อยลง ก็ทำให้เกิดการอักเสบที่หัวเข่า เข่าบวม ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวัน

อาการ ปวดเข่า ทำไมถึงได้ปวด

เมื่อ ข้อเข่าเสื่อม ลง กระดูกอ่อนจะบางลงและสึกกร่อน ทำให้หัวเข่าสูญเสียความลื่นไหลและความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหว ประสิทธิภาพในการปกป้องกระดูกแข็งจะลดน้อยลง เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อลดลง เส้นเอ็นก็จะถูกยืดออกมากขึ้น ทำให้เกิดความเจ็บปวดตามมา แย่ไปกว่านั้นอีก หากกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งของข้อเข่ามากระทบกัน การเสียดสียิ่งทำให้ ปวดเข่า มากทวีขึ้น จนไม่อยากจะขยับเขยื้อน หรือเดินไปไหนมาไหนเลย โรคข้อต่อเสื่อม มักจะเกิดกับคนอายุวัยกลางคน หรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะหัวเข่าที่เป็นจุดรับน้ำหนักตัวมากที่สุดในร่างกาย จึงเป็นจุดที่มีการเสื่อมสภาพได้เร็ว นั่นคือ เหตุผลว่า ทำไมคนจึงเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม กันเยอะมาก รองลงมา ก็คือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และ ข้อสะโพกเสื่อม โดยผู้หญิงมักจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย (ดูบทความผู้หญิง)

อาการสำคัญของโรคข้อเข่าเสื่อม​

มีอาการปวดเจาะจงที่ตำแหน่งหัวเข่า ปวดเสียวจี๊ดในข้อเข่า โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนไหว​

มีอาการปวดข้อเข่า เมี่อใช้งานหัวเข่าเป็นเวลานาน เช่น เดินนานๆ หรือ ยืนนานๆ​

มีอาการปวดข้อเข่า เมื่อไม่ได้ใช้งานหัวเข่าเป็นเวลานาน เช่น นั่งเฉยๆ นานๆ หรือ นอนนานๆ​

มีอาการบวมของข้อเข่า ซึ่งอาจมีอาการปวดหรืออาจไม่ปวดก็ได้​

สาเหตุข้อเข่าเสื่อม อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เป็น

มีหลายสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่

การตรวจวินิจฉัย ข้อเข่าเสื่อม

หมอผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกจะทำการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการดูจาก

ลักษณะ รายละเอียดของอาการ ปวดเข่า โดยการซักถาม​

ตำแหน่ง และรูปแบบของอาการ ปวดข้อเข่า​

การตรวจทางกายภาพเพิ่มเติม เช่น การเอ็กซเรย์เป็นวิธีการวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อให้รู้ว่าอาการปวดนั้นเป็นมาจากกระดูก​

วิธีแก้ปวดข้อเข่าเสื่อม วิธีรักษา

เป้าหมายหลักของการรักษาโรค ข้อเข่าเสื่อม คือ พยายามลดอาการ ปวดเข่า ลง และพยายามช่วยให้สามารถขยับข้อเข่าในการดำเนินชีวิตให้ได้

ยาแก้ปวดช่วยระงับอาการ ปวดข้อเข่า ได้ฉับพลัน ส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroidal Antiflammatory Drugs) ที่ใช้กับโรคปวดกระดูก เนื่องจากออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดอาการปวด แต่อาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ระคายกระเพาะอาหาร มีความเสี่ยงต่อการลิ่มเลือดในหลอดเลือด และมีผลเสียต่อไต ที่สำคัญ การกินยาแก้ปวด เป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการเพียงชั่วคราว เมื่อหมดฤทธิ์ยา อาการ ปวดข้อเข่า ก็จะกลับมาเป็นอีก

ที่ใช้แพร่หลายในประเทศไทย ได้แก่ แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) นาโปรเซน (Naproxen) อินโดเมธาซิน (Indomethacin) อีโตริคอกซิบ (Etoricoxib) หรืออาร์โคเซีย (Arcoxia) และเซเลโคซิบ (Celecoxib) หรือเซเลเบรก (Celebrex)

ยาทาถูนวดในรูปแบบของครีม หรือ สเปรย์ เพื่อใช้เฉพาะจุด เช่น ฉีดพ่นที่ข้อเข่า อาจช่วยยับยั้งอาการปวดได้ ตามสรรพคุณของส่วนผสมที่ใช้ เช่น ยานวดที่ผลิตจากน้ำมันสมุนไพร หรือ ยานวดที่มีส่วนผสมของยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น ไดโคฟิแนค (Diclofenac) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม NSAIDs เช่นเดียวกันกับการกินยา การใช้ยาทา หรือยานวด ก็เป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการเช่นกัน ที่อาจช่วยระงับอาการ ปวดข้อเข่า ได้เป็นครั้งคราว

การออกกำลังกายช่วยให้ข้อต่อ ข้อเข่า ขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น กระตุ้นการสร้างน้ำเลี้ยงข้อเข่า และช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่รอบๆ ข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้น แต่ก็สามารถทำได้แค่การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การว่ายน้ำ การเดินในน้ำ การเตินเบาๆ เพื่อไม่ให้ข้อเข่ารับแรงกระแทกจนเกิดอาการอักเสบหนักขึ้นไปอีก ควรงดเว้นการออกกำลังกายที่ส่งแรงกระแทกที่ข้อเข่าหนักๆ เช่น การวิ่ง การเต้นแอโรบิก

การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดแรงกดทับลงไปที่ข้อเข่าได้อย่างดียอดเยี่ยมเนื่องจากข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา การวิจัยพบว่า การลดน้ำหนักตัวลง 1 กิโลกรัม ช่วยลดน้ำหนักกดทับลงไปที่ข้อเข่าได้ถึง 4 กิโลกรัม ดังนั้น หากคุณลองลดน้ำหนักตัวอย่างต่อเนื่อง จะพบว่าอาการ ปวดเข่า จะเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด ในระยะยาวจะช่วยชะลอภาวะ ข้อเข่าเสื่อม ได้อย่างเห็นผล

กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) คือของเหลวคล้ายเจล ข้นใสเหมือนไข่ขาว ทำหน้าที่เป็นน้ำไขข้อเทียมให้กับข้อเข่าที่อักเสบ เมื่อถูกฉีดเข้าไปในข้อเข่า จะช่วยหล่อลื่น ลดการเสียดสี ทำให้อาการเจ็บปวดอักเสบทุเลาลง อย่างไรก็ดี การฉีดน้ำไขข้อเข่าเทียมอาจมีผลข้างเคียง คือ มีการปวดบวมเล็กน้อย ให้ใช้การประคบเย็นช่วยลดอาการปวดหลังการฉีดยา หากปวดบวม แดงร้อน ให้พบแพทย์ทันที

บางคนจะสับสนว่าควรจะ ประคบร้อน หรือ ประคบเย็นดี เคล็ดลับสำคัญ คือ หากหัวเข่ามีอาการเย็น ให้ ประคบร้อน หากหัวเข่ามีอาการร้อน ให้ ประคบเย็น การประคบร้อน เหมาะสำหรับหัวเข่าที่มีอาการปวดล้า ปวดตึง ปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจาก การใช้งานหัวเข่าเป็นเวลานาน แต่หัวเข่าไม่ได้มีอาการ ปวดบวมร้อน อย่างชัดเจน แต่เป็นลักษณะปวดตึงหน่วงๆ ออกแนวเมื่อยล้า การประคบร้อน จึงช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ประคบ ช่วยคลายให้เส้นเอ็นขยายตัวและนิ่มลง ช่วยคลายอาการปวดได้ การประคบร้อนสามารถใช้เจลสำเร็จรูปห่อด้วยถุงผ้าพันให้รอบข้อเข่าที่อักเสบอยู่ หรือใช้น้ำร้อนใส่ขวดแก้วพันให้รอบด้วยผ้าขนหนู แล้วกลิ้งคลึงรอบๆ หัวเข่า

เหมาะสำหรับอาการ ปวดเข่า หรือ เจ็บข้อเข่า ที่มีการอักเสบ ทดสอบได้ง่ายๆ โดยการวางมือของเราไว้บนหัวเข่า หากพบว่าหัวเข่าอุ่นกว่าอีกข้างหนึ่ง หรือบวมโตกว่าอีกข้างหนึ่ง แสดงว่า ข้อเข่าอักเสบ ต้องทำการ ประคบเย็น โดยการ ประคบเย็น จะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว เป็นการช่วยลดอาการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน ลง การประคบเย็นสามารถใช้เจลสำเร็จรูปห่อด้วยถุงผ้าพันให้รอบข้อเข่าที่อักเสบอยู่

สนับเข่า (Knee Support) ช่วยให้กระชับและพยุงหัวเข่าที่เสียความมั่นคงไป เช่น ข้อเข่าหลวม เส้นเอ็นรอบหัวเข่ายืดตัว หรือเอ็นไขว้หน้า เอ็นไขว้หลังอักเสบ โดยสนับเข่าจะช่วยกระชับให้ข้อเข่าเข้าที่เอาไว้ ลดอาการปวดจากการเคลื่อนตำแห่งของข้อเข่า แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อรอบเข่าลีบหรืออ่อนแรงจากการไม่ได้ใช้งานตามหน้าที่

การฝังเข็มอาจช่วยลดความเจ็บปวดได้บ้าง อย่างไรก็ดี ผลการรักษายังคงขัดแย้งกันอยู่และยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการฝังเข็มช่วยลดอาการ ปวดข้อเข่า ได้จริงหรือไม่

โดยอาหารเสริมทั้งสองชนิดนี้ นิยมทานกันมาเป็นเวลานานแล้ว แต่การศึกษาในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พบว่า การทานกลูโคซามีน และคอนดรอยติน (Glucosamine and Condroitin) ไม่ได้ช่วยลดอาการปวดข้อเข่าได้ดีนัก ผู้ป่วยหลายคนไม่เห็นผลในการลดอาการปวดข้อเข่าเลย อีกทั้งอาหารเสริมทั้งสองตัวนี้มีราคาที่สูงมาก และต้องทานในปริมาณสูงต่อหนึ่งครั้ง ปัจจุบัน ในสหรัฐอเมริกา ไม่นิยมจ่ายยาสองตัวนี้ให้กับผู้ป่วยโรค ข้อต่ออักเสบ หรื ข้อต่อเสื่อม กันแล้ว

ผลการศึกษาล่าสุดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พบว่า อาหารเสริมประเภทคอลลาเจน ชนิดที่สอง หรือ คอลลาเจน ไทป์ทู (Collagen Type II) สามารถช่วยลดการอักเสบของเข่า ลดอาการ ปวดเข่า ช่วยเพิ่มน้ำเลี้ยงไขข้อเข่า ได้ดี และมีผลการวิจัยหลายฉบับออกมายืนยันผลลัพธ์นี้ โดยเฉพาะการศึกษาจากสถาบันวิจัย Lonza ที่ใช้คอลลาเจน ไทป์ทู ที่มีเครื่องหมายการค้าว่า UC-II ซึ่งเป็นคอลลาเจน ไทป์ทู ชนิดไม่ถูกแปรสภาพ (Undenatured) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก FDA องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ในการช่วยฟื้นฟู ข้อเข่าเสื่อม ลดการอักเสบของข้อเข่า ช่วยฟื้นฟูข้อเข่าให้กลับมาใช้งานในกิจวัตรประจำได้รวดเร็ว โดยข้อดีของการทาน UC-II คือ ราคาไม่แพง สะดวกในการทาน เป็นการฟื้นสภาพจากภายในด้วยวิธีธรรมชาติ และได้ผลดีมาก (ดูบทความ UC-II)

การทานอาหารเสริมประเภทคอลลาเจน : ผลการศึกษาล่าสุดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พบว่า อาหารเสริมประเภทคอลลาเจน ชนิดที่สอง หรือ คอลลาเจน ไทป์ทู (Collagen Type II) สามารถช่วยลดการอักเสบของเข่า ลดอาการ ปวดเข่า ช่วยเพิ่มน้ำเลี้ยงไขข้อเข่า ได้ดี และมีผลการวิจัยหลายฉบับออกมายืนยันผลลัพธ์นี้ โดยเฉพาะการศึกษาจากสถาบันวิจัย Lonza ที่ใช้คอลลาเจน ไทป์ทู ที่มีเครื่องหมายการค้าว่า UC-II ซึ่งเป็นคอลลาเจน ไทป์ทู ชนิดไม่ถูกแปรสภาพ (Undenatured) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก FDA องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ในการช่วยฟื้นฟู ข้อเข่าเสื่อม ลดการอักเสบของข้อเข่า ช่วยฟื้นฟูข้อเข่าให้กลับมาใช้งานในกิจวัตรประจำได้รวดเร็ว โดยข้อดีของการทาน UC-II คือ ราคาไม่แพง สะดวกในการทาน เป็นการฟื้นสภาพจากภายในด้วยวิธีธรรมชาติ และได้ผลดีมาก (ดูบทความ UC-II)

การฉีดสเตียรอยด์ : โดยคุณหมอกระดูกจะฉีดสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์แรงนี้ลงไปในข้อเข่า เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่า อย่างไรก็ดี การใช้สเตียรอยด์บ่อยเกินความจำเป็นจะทำลายเนื้อเยื่อและกระดูกข้อเข่าให้ผุกร่อนลงได้เร็วขึ้น

การกินยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotics) : จะเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มสารออกฤทธิ์ต่อร่างกายคล้ายมอร์ฟีน (Morphine) ซึ่งจะระงับความเจ็บปวดข้อเข่าที่มีอาการรุนแรงมาก และ การใช้ยาประเภทนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์

การฉีดสเต็มเซลล์ : สเต็มเซลล์ (Stem Cell) คือแหล่งเซลล์สำรองที่ใช้สร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เก่า อีกทั้งสามารถหลั่งสารต้านการอักเสบเพื่อช่วยบรรเทาอาการเสื่อมของเซลล์ข้างเคียงได้ด้วย จึงมีการนำเอาสเต็มเซลล์มาใช้บรรเทาอาการ ข้อเข่าเสื่อม

การผ่าตัด : การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee replacement surgery) คงเป็นทางเลือกอันดับสุดท้าย หากวิธีการรักษาอื่นๆ ไม่เห็นผลแล้ว หรือมีอาการทรุดหนักลงมาก เช่น ข้อเข่าเสื่อม จนโก่ง ข้อเข่าชิดกันจนเกิดความเจ็บปวดทรมาน กล้ามเนื้อลีบอ่อนแรง จนอาจนำไปสู่ความพิการของข้อเข่าได้ เป็นต้น ข้อเข่าเทียมจะผลิตจากโลหะสังเคราะห์ เช่น ไททาเนียม หรือ เซรามิก โดยการผ่าตัดใช้เวลาไม่นาน แต่ผู้ป่วยจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาลราว 5-7 วัน เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่เสียเลือดค่อนข้างมาก หลังการผ่าตัด ควรต้องระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ เนื่องจากเสียเลือดไปมาก ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน และจะต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องหลังการผ่าตัด เพื่อปรับตัวในการใช้งานกับหัวเข่าใหม่ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปี จะต้องได้รับการพิจารณาเป็นรายๆ จากแพทย์ว่าสุขภาพโดยรวมสามารถทำการผ่าตัดได้หรือไม่ด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *