อาการ ปวดหลังร้าวลงขา นับว่าเป็นอาการปวดหลังที่ทรมานมาก ๆ เนื่องจากเป็นการปวดที่บริเวณเอวร้าวลงมาบริเวณสะโพก และร้าวลงมาปวดที่ขา ซึ่งนี่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนอันตรายจากกระดูกสันหลัง เช่น การเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หรือจากการเกิดอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง รวมถึงกิจวัตรประจำวัน เช่น การก้ม การบิดเอว การยกของหนัก เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณหลังร้าวลงขา มักจะเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน และผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ หากมีอาการแบบนี้บอกเลยว่า ไม่ควรปล่อยให้มีอาการรุนแรงโดยเด็ดขาด เรามาเช็กกันดีกว่าว่าสาเหตุของการปวดบริเวณหลังร้าวลงมาขานั้นมีอะไรบ้าง
สาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา
สำหรับ อาการปวดหลังขาชา โดยส่วนใหญ่ก็มักจะมีเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุโดยส่วนใหญ่ที่เรามักจะพบได้บ่อย ๆ มีดังต่อไปนี้
- มีหลายคนที่เกิดอาการปวดหลังโดยมีสาเหตุมาจากการกดทับของเส้นประสาทจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น กระดูกสันหลังงอก กระดูกสันหลังมีการแตก หัก กระดูกทับเส้น และ กระดูกสันหลังเกิดการติดเชื้อ เป็นต้น จึงทำให้หลายคนมักมีอาการปวดหลังบ่อย ๆ ซึ่งหากอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวแนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องจะดีกว่า
- กล้ามเนื้ออักเสบก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังแล้วร้าวลงมาที่ขาได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการใช้งานกระดูกสันหลังส่วนล่างที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งการบาดเจ็บที่เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง และเกิดอาการปวดหลังแล้วร้าวลงมาที่ขาได้
- กระดูกสันหลังเสื่อม อีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลทำให้เมื่อข้อต่อกระดูกสันหลังมีความเสื่อมตามอายุ กระดูกจะมีการเคลื่อนมาทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงมาที่ขา ซึ่งสาเหตุนี้มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่
อาการปวดแบบไหน อันตราย!
เพราะอาการปวดหลังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และมักจะมีลักษณะของความเจ็บปวดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าอาการปวดหลังแบบไหนบ้างที่กำลังบ่งบอกถึงอันตราย และควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาที่ตรงจุดทันที ซึ่งก็มีหลักการสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้
- ปวดหลัง หรือปวดเอว ลามลงมาสะโพกแบบเป็น ๆ หาย ๆ โดยมีระยะเวลาในการปวดที่นานกว่า 2 สัปดาห์ นับว่าเป็นอาการปสดที่ค่อนข้างอันตราย เพราะถือเป็นอาการปวดเรื้อรังจึงควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงโดยด่วน
- มักจะมีอาการขาอ่อนแรง ไม่สามารถกระดกข้อเท้า หรือเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างสะดวก คล่องแคล่ว รวมทั้งไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ก็นับว่าเป็นอาการปวดหลังที่ค่อนข้างจะมีความอันตรายด้วยเช่นกัน
- เป็นตะคริวบ่อย ๆ รวมทั้งบริเวณขามีอาการชา จึงส่งผลให้เป็นอุปสรรคกับการเดิน ไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ อาการดังกล่าวอาจจะกำลังบ่งบอกถึงสัญญาณอันตรายที่เกิดจากอาการปวดหลังได้ด้วย
วิธีการรักษาบรรเทาอาการปวด
เราจะรักษาอาการปวดหลัง หรือ อาการกระดูกทับเส้นประสาทหลัง เพื่อให้อาการปวดทุเลาลงได้อย่างไร และ ปวดหลังร้าวลงขากินยาอะไร ได้บ้าง เป็นคำถามที่เรามักจะพบได้บ่อยมาก ๆ ซึ่งการรักษาบรรเทาอาการปวดหลัก ๆ ก็คือ การรับประทานยาแก้ปวด การฉีดยา การทำกายภาพบำบัด หรือในผู้ป่วยมที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะต้องทำการรักษาด้วยการ การผ่าตัด และการทำ การทำเลเซอร์ (Laser) เพื่อให้อาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นหายไป หรือทุเลาลงจนหระทั่งหายเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามหากอยู่ในอาการปวดที่รุนแรงแนะนำว่าไม่ควรรักษาด้วยตนเอง หรือวิธีที่ผิดเนื่องจากจะทำให้เกิดอาการรุนแรงกว่าเดิมได้นั่นเอง
บอนเมดเอส อีกหนึ่งตัวช่วยที่แนะนำ ดีอย่างไรต้องมาดู
หากคุณเพิ่งเริ่มต้นมีอาการปวดหลังซึ่งอาจจะเกิดจากการนั่งทำงานนาน ๆ การยกของหนัก หรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้คุณดูแลตนเองด้วยการทาน บอนเมดเอส ซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งตัวช่วยที่หลายคนแนะนำ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยให้กระดูกของคุณมีความแข็งแรงมากขึ้น เป็นการเสริมบำรุงไม่ให้ส่วนต่าง ๆ เกิดการเสื่อมสภาพได้ยาก ซึ่งการทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้อาการปวดต่าง ๆ บรรเทาลงได้ จนอาจจะหายเป็นปกติเลยก็ว่าได้ ซึ่งแน่นอนเลยว่าการที่เราป้องกันบำรุงตั้งแต่เริ่มแรกนั้นดีกว่าการที่จะต้องรักษาอย่างแน่นอน สำหรับใครที่สนใจอยากทานเพื่อบำรุงกระดูกสามารถทานได้ง่าย และไม่เป็นอัตราจ่ายต่อสุขภาพแน่นอน
ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเริ่มมีอาการปวดหลังควรดูแลตนเอง และรักษาด้วยการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดทันที ไม่ควรปล่อยไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง และกลายเป็นโรคที่อันตายและอาจจะยากต่อการรักษาได้ หรือหากใครที่ไม่ได้มีอาการปวดหลังแต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับอาการปวดต่าง ๆ การดูแลตนเองด้วยการทานอาหารเสริมนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ และการเลือกทานอาหารที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการปวดต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน